ปราสาทหินวัดพู มรดกโลกแห่งลาวใต้

ภาพจาก https://www.thaifly.com/index.php?route=news/news&news_id=748

ปราสาทหินวัดพู ปราสาทหินที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด
                ปราสาทหินวัดพู หรือวัดพู นครจำปาสัก ในอดืตเคยป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแหล่งอารยธรรมโบราณถึง 3 สมัยด้วยกัน คือ อาณาจักรเจนละในช่วงศตวรรษที่ 6-8 ค้นพบจารึกกล่าวถึงการฆ่าคนเพื่อบูชาแด่เทพเจ้า ต่อมาเป็นยุคของอาณาจักรขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร เลือกบริเวณนี้เป็นที่สร้างปราสาทหิน และสุดท้ายอาณาจักรล้านช้างได้เปลี่ยนเทวลัยในศาสนาฮินดูให้เป็นวัดในพุทธศาสนานิกายเถรวาท

         ปัจจุบันปราสาทหินวัดพู ถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชาวพุทธ เพราะว่านับตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา ศาสนาพุทธได้เข้ามาแทนที่ศาสนาฮินดู ทำให้ศาสนสถานที่เคยเป็นของอาณาจักรขอมมาก่อนเปลี่ยนเป็นการทำพิธีกรรมของศาสนาพุทธ เช่น จะมีการจัดงานประจำปีวัดพู ในช่วงวันเพ็ญเดือน 3 ซึ่งตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

         งานสถาปัตยกรรมปราสาทหินวัดพูจะคล้ายกับเขาพระวิหาร ปราสาทหินที่สวยที่สุดในประเทศลาวสิ่งที่แตกต่างกันคือภูมิประเทศ ด้านหลังปราสาทจะเห็นภูเขามองเห็นแต่ไกล รูปร่างคล้ายนมของผู้หญิงและคนเกล้ามวยผม ซึ่งเป็นที่มาของชื่อภูเขานี้ว่า “เขานมสาว”แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า“ภูเกล้า”

ภาพจาก www.tourismlaos.org/show.php?Cont_ID=28
         นอกจากความสูงของเนินเขาแล้ว ด้านล่างยังถูกโอบล้อมด้วยแม่น้ำโขง ทำให้อากาศเย็นตลอดปี  อาณาเขตของปราสาทหินวัดพู เริ่มต้นจากริ่มฝั่งแม่น้ำโดยมีบันไดทางขึ้นรถหลั่นกันขึ้นมา 3 ชั้น จนถึงองค์ประธานของปราสาทซึ่งอยู่บนสุด นอกเขตวัดมีบารายขนาดใหญ่ เมื่อเข้าไปในบริเวณวัด จะเห็นซากวังที่พระราชวงศ์สายจำปาสักให้สร้างขึ้น ถัดมามีบันไดทางขึ้นขั้นที่ตัดในแนวตะวันออก – ตะวันตก ทอดผ่านสระน้ำทรงสี่เหลี่ยม 2 แห่ง ชั้นกลางมีปรางค์ 2 หลังขนาบ  เหนือโคปุระหรือประตูทางเข้าทั้งสองเป็นทับหลังแกะสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องราวในศาสนาฮินดู  จากลักษณะอันโดดเด่นของปราสาทหินวัดพูและสิ่งก่อสร้างใกล้เคียงทำให้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งที่สองของประเทศลาว



อ้างอิง
ไทยรัฐออนไลน์. “ตำนานรัก...แห่งจำปาสัก อลังการงาน"บุนวัดพู 2013". [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thairath.co.th/content/319456

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. มูลนิธิวิกิมีเดีย. “ปราสาทหินวัดพูและสิ่งก่อสร้างใกล้เคียงในแขวงจำปาสัก”. [ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มา http://.th.wikipedia.org/wiki/

UNESCO World Heritage Centre. “Vat Phou and Associated Ancient Settlements within the Champasak   Cultural Landscape” [online]





Comments